เปิดรายชื่อ7อรหันต์ ก.พ.ค.ตร. กุมชะตา “บิ๊กโจ๊ก” อยู่หรือไป ชี้โอกาสริบหรี่

ยังเป็นเรื่องที่จะต้องจับตาดูกันต่อไป หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวม (ก.ตร.) มติ 12 ต่อ 0 เห็นชอบคำสั่งของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร ให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ออกจากราชการไว้ก่อน และอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของคณะกรรมพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ

ทั้งนี้สำหรับ ขั้นตอนของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ที่จะเป็นการชี้ชะตาของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ต่อจากนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย โดยมีแนวทางการวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์ของ ก.พ.ค.ตร.จะออกมาได้ 4 ทาง

1.ไม่รับอุทธรณ์ ด้วยเรื่องอุทธรณ์ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่ ก.พ.ค.ตร. จะรับไว้พิจารณาได้ เช่น เป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจ หรือผู้อุทธรณ์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ตามกฎหมาย หรือยื่นพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นเรื่องที่เคยอุทธรณ์ และ ก.พ.ค. ตร.ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนั้นแล้ว หรือเคย

2.อุทธรณ์มาแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณา ก.พ.ค.ตร. ก็จะมีคำวินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ และจำหน่ายออกจากสารบบ โดยไม่ต้องพิจารณาในเนื้อหาของอุทธรณ์ ซึ่งกรณีคำร้องอุทธรณ์ของท่าน พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กรรมการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งรับไว้พิจารณาแล้วดังกล่าวข้างต้น

3.ยกอุทธรณ์ ด้วยคำสั่งทางปกครองที่นำมาอุทธรณ์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น

ให้แก้ไข เพราะคำสั่งที่นำมาอุทธรณ์นั้น ไม่ถูกต้องบางส่วน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายบางส่วน จึงวินิจฉัยให้แก้ไขในส่วนที่ไม่ถูกต้อง

4.ยกเลิกคำสั่งลงโทษ และอาจมีคำสั่งให้เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์ด้วยก็ได้ รวมทั้งเร่งรัดติดตามการเยียวยา หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่จะมีคำวินิจฉัยให้เพิ่มโทษไม่ได้และ เนื่องมาจากคำสั่งที่นำมาอุทธรณ์นั้น เป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฏหมาย อุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์นั้นฟังขึ้น จึงวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่ง ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับให้เพิกถอนคำสั่ง

ทั้งนี้ใน 4 แนวทางนี้ ก.พ.ค.ตร.รับคำร้องของพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ไว้พิจารณา ซึ่งเมื่อรับคำร้องไว้พิจารณาก็จะมีขั้นตอนต่างๆที่จะต้องให้คู่กรณีคือ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ได้ชี้แจง ซึ่งล่าสุด พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ บอกว่าได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค.ตร.แล้ว

อย่างไรก็ตามสำหรับระยะเวลาพิจารณาวินิจฉัยของ ก.พ.ค.ตร. หากไม่แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ก็ให้ขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 60 วัน หรือรวมแล้วไม่เกิน 240 วัน จากเดิมอีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน ซึ่งปกติถ้าคู่กรณีไม่ขอขยายระยะเวลาทำคำแก้อุทธรณ์ และผู้อุทธรณ์ไม่มีประเด็นความเห็นแย้งในสาระสำคัญในคำแก้อุทธรณ์ดังกล่าว การพิจารณาวินิจฉัย ก็จะใช้เวลาไม่เกินกว่ากรอบแรก ตามที่กฎหมายกำหนด คือ 120 วัน เพราะเป็นสำนวนคดีดังกล่าว ไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อนอะไรมากนัก ดังนั้นขณะนี้เหตุจะช้าหรือเร็ว จึงขึ้นอยู่กับว่าคู่กรณีได้ขอขยายเวลาทำคำแก้อุทธรณ์ หรือผู้อุทธรณ์มีความเห็นแย้งในสาระสำคัญดังกล่าวหรือไม่

ทั้งนี้ส่วน รายชื่อ 7 อรหันต์ ก.พ.ค.ตร.ที่ ทำหน้าที่พิทักษ์คุณธรรมวงการตำรวจ พิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจไม่เป็นธรรม ชุดนี้ ประกอบด้วย นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ อดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุด เป็น ประธานกรรมการ

และมี กรรมการ 5 คน คือ นายธวัชชัย ไทยเขียว อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม, พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีต ผบ.ตร., นายวันชาติ สันติกุญชร อดีตอธิบดีคณะกรรมการ กอ., พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงค์ อดีต ผู้บัญชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ, พล.ต.อ.อำนาจ อันอาตน์งาม อดีตที่ปรึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ คนสุดท้ายคนที่ 7 เป็นกรรมและเลขานุการ ก.พ.ค.ตร. คือ พล.ต.ท.ปัญญา เอ่งฉ้วน อดีตผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

โดยทั้ง 7 คนได้รับการแต่งตั้งโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2566