วันแรกงานมัสยิดบ้านทางควายคึกคัก คนหลายพันคนร่วมงาน “ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ” เน้นสร้างความสามัคคีเป้นพลังในการร่วมกันพัฒนาชาติไทย ระบุ มุสลิมเป็นผู้ร่วมสร้างมาทุกยุคทุกสมัย
การจัดงาน มัสยิดยามิอุ้ลอิบาดะห์(บ้านทางคงาย) 120 ปี อัลญมณีแห่งประเวศบุรีรมย์ มีขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม โดยในวันแรกบรรยากาศการจัดงานเป็นไปด้วยความคึกคัก มีการออกร้านคาเสื้อผา อาหารมากกว่า 50 ร้าน มีดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนและอดีตรมว.ต่างประเทศ เป็นประธานในพิธี แม้จะมีฝนโปรยปรายในช่วงบ่าย แต่งานยังดำเนินต่อไปด้วยความคึกคัก มีผู้มาร่วมงานหลายพันคน
นายสมพร หลงจิ ประธานคณะกรรมการจัดงานฯ กล่าวว่า มัสยิดยิมิอุ้ลอิบาดะห์ ก่อสร้างมาก่อนการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ หลังปัจจุบันเป็นหลังที่ 3 ก่อสร้างแทนมัสยิดหลังเดิมที่เป็นมัสยิดไม้และมีสภาพเสื่อมโทรม เป็นมัสยิดแห่งที่ 2 ย่านประเวศ-สวนหลวง ก่อสร้างด้วยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจเสียสละทรัพย์สินก่อสร้าง มีสัปบุรุษประมาณ 5,000 คน จาก 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนประเวศฝั่งเหนือ-ใต้ ชุมชมสุเหร่าทางควาย ชุมชนบ้านสองห้อง การจัดงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน หารายได้เพื่อกิจการมัสยิด การศึกษาเยาวชน การบรรยายธรรมเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับสัปบุรุษ
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ได้บรรยายพิเศษ ระบุว่า ความสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นพลังในการสร้างสรรค์ สร้างชุมชน และประเทศชาติ
“มีความพยายามสร้างกระแสว่า พวกเราเป็นผู้มาอาศัย แต่โดยความจริง พวกเราเป็นผู้ร่วมสร้าง บ้านเมืองนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ร่วมกู้ชาติ และร่วมพัฒนาบ้านเมือง เป็นผูเเสียสละในหลายด้านๆด้าน เพื่อบ้านเมือง เพื่อประเทศชาติ อดีต เจ้าจอมมารดาเรียม มาราดาของรัชกาลที่ 3 เป็นมุสลิม แม่นมของรัชกาลที่ 5 ที่ตบาดขวัญ ก็เป็นมุสลิม ” ดร.สุรินทร์ กล่าว
ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า มุสลิมถูกนำมาอยู่ตามชายคลองทางตะวันออกของพระนคร ก็เพื่อเป็นกันชน เวลากองทัพเขมร หรือญวน บุกเข้ามา มุสลิมเป็นทหารกล้าเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ปกป้องบ้านเมือง
“เราจึงเป็นผู้ร่วมสร้าง” ดร.สุรินทร์ กล่าว และว่า เหตุการณ์ในอดีตเป็นประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่า เราเป็นผู้สร้่าง และในปัจจุบันเราก็ยังเป็นผู้ร่วมสร้าง บรรดาเยาวชนมุสลิมที่จบมาจากประเทศต่างๆ เป็นบุคลากรที่สำคัญในการทำงานให้กับสถานเอกอัคราชทูตมุสลิมในประเทศไทย 14-15 แห่ง ถ้าไม่มีลูกหลานมุสลิมทำงาน สถานทูตมุสลิมเหล่านี้ ก็ขาดศักยภาพในการทำงาน ก็จะไม่ดีเท่าวันนี้
“ในยุคสมัยที่ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ หรือเมดิคอลทัวริสซึ่ม กำลังเฟื่องฟูมีมุสลิมจากอาหรับหลายแสนคนเดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เยาวชนมุสลิม มีส่วนสำคัญในการเป็นล่ามให้กับคนไข้อาหรับ ให้กับนักท่องเที่ยวอาหรับ เราจึงเป็นผู้สร้างมูลค่าให้กับประเทศชาติ” ดร.สุรินทร์ กล่าว
“สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ความสามัคคี ความร่วมไม่ร่วมมือกันในชุมชน เพื่อเป็นพลัง เราจะมีพลังไม่ได้ หากขาดความสามัคคี ชุมชนบ้านทางควาย เป็นชุมชนที่มีการเจียรนัยเพชรพลอยที่มีชื่อเสียง ส่งไปขายตัวโลก เพชร มีหลายมุมจึงจะสะท้อนแสงที่สวยงาม เราจึงต้องมีความหลากหลาย ที่มีความแตกต่างที่ไม่แตกแยก จึงจะเป็นเพชรที่แพรวพราว สว่างไสว มีความสวยงาม และมีพลัง” ดร.สุรินทร์ กล่าวในที่สุด