“หัวเว่ย” ผนึกกำลัง “อว.-แรงงาน” นำไทยสู่ศูนย์กลาง บุคคลากรดิจิทัล

“หัวเว่ย ประเทศไทย”  จับมือ “กระทรวง อว.-กระทรวงแรงงาน” เสริมแกร่ง อีโคซิส นำไทยสู่ศูนย์กลางบุคลากรดิจิทัล หนุนโอกาสสร้างอาชีพในงานมหกรรม Thailand Digital Talent Summit

วันที่ 31 พ.ค.2567 บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), กระทรวงแรงงาน, และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยรวมถึงองค์กรชั้นนำในประเทศไทย จัดงานมหกรรม ‘Thailand Digital Talent Summit and Job Fair: Building Talent Hub for a Digital, Intelligent, and Green Thailand’ ภายใต้แนวคิด ‘สร้างศูนย์กลางบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ นำประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 ราย ทั้งบุคลากรจากภาครัฐ, สถาบันการศึกษา, และภาคอุตสาหกรรม โดยการประชุมสุดยอดครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือด้านการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัล และสร้างโอกาสทางอาชีพซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย บนเส้นทางสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนมร. เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ตอกย้ำแนวคิด และ ความรุดหน้าด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลว่า “Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) มุ่งพัฒนากลยุทธ์ 4 ประการสำคัญ ได้แก่สถาบันธุรกิจ (สำหรับระดับผู้บริหาร) เพื่อบ่มเพาะภาวะผู้นำด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารองค์กร, สถาบันเทคนิค (สำหรับระดับนักพัฒนา) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เอสเอ็มอี และนักพัฒนาซอฟต์แวร์, สถาบันวิศวกรรม (สำหรับระดับผู้ประกอบวิชาชีพ) ที่มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติจริงสำหรับกลุ่มคนทำงาน และประการสุดท้ายคือการลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล (สำหรับระดับผู้ใช้งาน) เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงความรู้ด้านดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม”

มร. หลี่ กล่าวต่อว่า “ในปัจจุบัน หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ผนึกกำลังพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลไปแล้วกว่า 96,000 คน ซึ่งรวมถึงบุคลากรผู้มีทักษะด้านดิจิทัล 72,000 คน, ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ 8,000 คน, วิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green engineer) 2,000 คน, บุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 5,000 คน, เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ 3,500 ราย ทั้งยังจัดการฝึกอบรมให้กับนักเรียนและชุมชนในชนบท 6,000 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้หัวเว่ยได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งสถาบัน ICT Academy ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยกว่า 42 แห่งทั่วประเทศ” นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงความร่วมมือในงานมหกรรม Thailand Digital Talent Summit ว่า “ในนามกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยสำหรับความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล เพื่อบ่มเพาะศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น กระทรวง อว.มีภารกิจสำคัญคือการสร้างกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านดิจิทัลที่กลายเป็นหัวใจสำคัญและเป็นพื้นฐานการพัฒนาของโลกยุคนี้ในทุกๆ มิติ เราพร้อมผนึกกำลังกับหัวเว่ยเพื่อผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลและนโยบายการวิจัยที่ออกแบบโดยเฉพาะในการจัดหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ พร้อมทั้งผลักดันนโยบายส่งเสริมการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21”

ด้าน นางจิรวรรณ สุดสุนทร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะระดับโลกในการส่งเสริมบุคลากรด้านดิจิทัลให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเราจะมุ่งตอบสนองความต้องการและมุ่งยกระดับและเสริมสร้างทักษะบุคลากรร่วมกัน ภายใต้ความร่วมมือด้านวิชาการและอุตสาหกรรมในการพัฒนาทักษะบุคลากรที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต”ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งใหม่กับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อปลูกฝังบุคลากรด้านดิจิทัลและส่งเสริมอีโคซิสเต็มในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง:

1. สร้างผลกระทบเชิงบวกกับภาครัฐบาลและนโยบาย: ในการผนึกกำลังกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงแรงงาน ทั้ง 3 หน่วยงานตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีให้ได้รวม 10,000 คน, นักพัฒนาด้านคลาวด์และ AI จำนวน 5,000 คน, และวิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมอีก 2,000 คนภายในปี พ.ศ. 2568 โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 20 แห่ง เพื่อสร้างองค์ความรู้ผ่านหลักสูตรนักพัฒนาด้านคลาวด์และด้านดิจิทัลของหัวเว่ย
2. แบ่งปันองค์ความรู้ด้านวิชาการ: มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (Beijing University of Post and Telecommunications), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัวโครงการใหม่ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อผลักดันการถ่ายทอดประสบการณ์ ส่งต่อองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรเพื่อโลกการทำงานในอนาคต
3. มอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน: เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีที หัวเว่ยจัดโครงการแข่งขันด้านไอซีทีเพื่อชิงทุนการศึกษาในปี พ.ศ. 2566-2567 โดยได้มอบ 9 รางวัลให้กับทีมผู้ชนะรางวัลใน 3 สาขา ได้แก่ ด้านเครือข่าย (Network) ด้านคลาวด์ (Cloud) และด้านการประมวลผล (Computing) โดยมีมูลค่ารางวัลรวมกว่า 1.4 ล้านบาท
4. การมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมและการสร้างอาชีพ: หัวเว่ยร่วมกับพันธมิตร 15 รายในธุรกิจองค์กร, คลาวด์, พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จัดมหกรรมจัดหางานเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมและประกาศนียบัตรรับรองจากหัวเว่ยได้เข้าถึงงานดิจิทัลในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบ, ธุรกิจองค์กร, และการพัฒนาซอฟต์แวร์

ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการกำหนดนโยบายและพันธมิตรโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทักษะดิจิทัลให้ได้รวม 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2568 โดยหัวเว่ย ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อจัดฝึกอบรมบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 12 ครั้ง รวมจำนวน 1,200 คน และจัดการแข่งขันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 4,000 คน รวมทั้งได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ฝึกอบรมเอสเอ็มอีไทย 160 ราย เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G, เมืองอัจฉริยะ, AI และหุ่นยนต์แบบอิมเมอร์ซีฟ นอกจากนี้ยังจัดตั้ง Huawei ICT Academy ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับนักวิชาการทั่วโลก เพื่อฝึกอบรมนักเรียนจำนวน 2,300 คน และจัดกิจกรรมการแข่งขันด้านไอซีทีเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีคลาวด์, ทรัพย์สินทางปัญญา, และความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษากว่า 400 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และมอบทุนการศึกษาคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2566 รวมถึงโครงการด้านการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัลที่สำคัญอื่น ๆ อีกหลายโครงการในประเทศไทย เช่น โครงการ Seeds for the Future, โครงการ Women in Tech, และโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) ครอบคลุมหลายจังหวัดในประเทศไทย

หัวเว่ยได้วางรากฐานในประเทศไทยมากว่า 25 ปี โดยมุ่งมั่นผลักดันกลยุทธ์ด้านดิจิทัลในประเทศไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) ผ่านแพลตฟอร์ม Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย และหลักสูตรการฝึกอบรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มครบวงจรที่รวมการฝึกอบรม, มาตรฐานการรับรองจากหัวเว่ย, การคัดเลือกพันธมิตร, และแอปพลิเคชันดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการบ่มเพาะสภาวะความร่วมมือที่เปลี่ยนความคิดและนวัตกรรม ไปสู่การแบ่งปันองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานจริง โดยหัวเว่ยพร้อมจะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัล ที่เปี่ยมด้วยความอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.