ซาอุดิอาระเบีย ในภาพจำของคนทั่วโลกประเทศที่เคร่งครัดในอิสลามด้วยเป็นที่ตั้งของเมืองอันสำคัญในอิสลาม มักกะห์และมาดีนะห์ แต่ภาพจำเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป จากการมาของมูฮัมหมัด บิน ซัลมาน (MBS)มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลงทุนมหาศาลกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ กำลังเปลี่ยนซาอุฯ จากมหาอำนาจทางศาสนา เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ วัชระ แววดำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมาร์ท เว็ต ผู้เชี่ยวชาญในการค้ารการลงทุนในตะวันออกกลาง จะฉายภาพจำของซาอุฯ ยุคใหม่ ไปติดตามกัน
ข้อมูลพื้นฐาน
ประเทศไทยซาอุฯ มีประชากรประมาณ 36 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวซาอุฯ 18 ล้านคน ที่เหลือเป็นประชากรแฝง มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ(GDP) (2566) 2,573 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มากกว่าไทยที่มีGDP 1,901 ล้านเหรียญ มีรายได้ประชากรต่อคนต่อปี 44,339.31 เหรียญสหรัฐฯ มีการส่งออกรวม 286.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้ารวม 213.02 พันล้านเหรียญสหรัฐ
มุสลิมใทยต้องศึกษาสังคมซาอุฯ
เริ่มต้นการสนทนา วัชระ แววดำ บอกว่า มุสลิมไทยได้เปรียบในการทำธุรกิจกับคนซาอุฯ ประการหนึ่งคือ เป็นมุสลิม และที่สำคัญคนซาอุฯ ชอบประเทศไทย ชอบบุคลิกลักษณะของคนไทย แต่มุสลิมไทยไม่ได้เรียนรู้สังคมซาอุฯ เท่าไหร่ ไปทำฮัจย์ อุมเราะห์ แล้วกลับก็กลับ ไม่ได้ศึกษา วิถีชีวิตของคนซาอุฯมากนัก จึงเสียเปรียบในการทำธุรกิจ
สภาพสังคมของซาอุฯ เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะหลังการมาของ MBS ที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เป็นฐานการส่งออกไปยังทั่วโลก โดยเฉพาะในโลกอาหรับและแอฟริกา จากเดิมที่ฐานการส่งออกอยู่ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ กำลังมีการก่อสร้างโครงการท่าเรืออัลดุลเลาะฮ์ที่ใหญ่ว่า ดูไบ 4-5 เท่า ซึ่งท่าเรือแห่งนี้จะถูกใช้เป็นฐานของธุรกิจของนักธุรกิจทั่วโลก ไม่ต้องเสียภาษีแบบในหมูเกาะเคแมน แต่มีเงื่อนไขสำคัญจะต้องยกเลิกสำนักในดูไบ เพราะฉะนั้น ดูไบจะได้รับผลกระทบหนักจากการพัฒนาของซาอุฯ
การที่ซาอุฯ ตั้งเป้าเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ดังนั้น สินค้ารนำเข้าไปยังซาอุฯ จึงจะมีโอกาสน้อยลง ยกเว้นจะไปลงทุนในซาอุฯ ยกตัวอย่าง การส่งไก่ไปซาอุฯ ที่ประเทศไทย เคยกดปุ่มส่งไป สมัยรัฐมนตรีพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิฎฐ์ ส่งตู้คอนเทนเนอร์ไก่ไปซาอุฯ ก็มีเพียงตู้เดียว จากนั้นไม่มีการส่งออกไปเลย ด้วยการที่ซาอุฯ ที่ต้องการเป็นฐานการผลิต จึงตั้งเงื่อนไขไว้ค่อนข้างซับซ้อน การเชือดตั้งไม่สตั้น(การทำให้สลบก่อนเชือด) แต่บ้านเรามีสตั้น มีการซับซิไดซ์ (สนับสนุน)ทางการเงินผู้ผลิตในประเทศกิโลกรัมละ 8 บาท พร้อมมีการสนับสนุนการสร้างโรงเรือน ซึ่งเราไม่สามารถแข่งขันได้ แต่โอกาสของการส้งออกอาหารสัตว์ มีความเป็นไปได้มากกว่า เพราะด้วยวัตถุดิบ ซาอุฯไม่สามารถผลิตได้ เราจึงควรเน้นการส่งออกอาการสัตว์มากกว่า ส่งออกไก่ อาหารสัตว์เราผลิตได้ปีละ 20 ล้านตัน เหลือจากการใช้ในประเทศ สามารถส่งออกได้ การที่คณะกรรมการกลางฯ หรือศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯ ต้องการผลักดันการส่งออกไก่ไปซาอุฯ โอกาสที่สำเร็จจึงยากมาก ซึ่งได้บอกเรื่องนี้กับ ดร.วินับดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ไปแล้ว
สังคมซาอุฯปัจจุบัน
คนซาอุฯ ยุคของ MBS มีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้นจากการปลดล็อคกฎเกณฑ์ทางศาสนา ผู้หญิงสามารถขับรถเองได้ ออกจากบ้านด้วยตนเองได้ มีการศึกษาในระดับสูง คนซาอุฯ อายุ 30 ปี ลงมาจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี และในการสื่อสารทางธุรกิจกับคนซาอุฯจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ในกรณีของการเจรจาธุรกิจการสื่อสารโดยการใช้ภาษาอาหรับจึงไม่จำเป็นมากนัก เพราะเน้นการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ
การปลดล็อคกฎเกณฑ์ทางศาสนา ทำให้ตำรวจศาสนาไม่ต้องทำงานสาธารณะ ให้ไปรับผิดชอบครอบครัวตัวเอง การปฏิบัติตามหลักศาสนาให้ถือเป็นความรับผิดชอบของแต่ละคนไป ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติเหมือนในอดีต แต่คนซาอุฯยังปฏิบัติเคร่งครัดทางศาสนา ละหมาด ถือศีลอด ในเดือนรอมฎอนก็จะละหมาดตารอเวี๊ยะ คนซาอุฯ ที่เป็นนักธุรกิจที่เวลาปกติจะเดินทางไปทั่วโลก แต่ในเดือนรอมฎอนจะกลับมาบ้านถือศีลอด ละศีลอดกับครอบครัว ซึ่งถือเป็นการสร้างฐานครอบครัวที่เข้มแข็งมาก เพราะฉะนั้น ใครที่อยากเจอคนซาอุฯ ให้ไปซาอุฯในเดือนรอมฎอน เพราะหลังจากละหมาดตารอเวี๊ยะ ก็จะเป็นช่วงของการพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูง หรือการเจรจา ประชุมกันในทางธุรกิจ จนถึงซาโฮร์ เขาจะพักผ่อนในตอนกลางวัน
ช่วงเวลารอมฎอน จึงเป็นช่วงเวลาของการเจรจาทางธุรกิจ ซึ่งมุสลิมจะได้เปรียบเพราะการปฏิบัติมีลักษณะเดียวกัน
โอกาสของคนไทยในการทำงานในซาอุฯ
การทำงานในซาอุฯของคนไทยหมดยุคของการไปขายแรงงาน เพราะจะสู้ค่าแรงกับกับแนรงงานอียิปต์ บังคลาเทศ หรือจากแอฟริกาไม่ได้ แต่คนไทยจะมีโอกาสในงานด้านบริการ เพราะซาอุฯกำลังส่งเสริมการท่องเที่ยว คนไทยมีความสามารถในด้านการบริการด้านการท่องเที่ยว จึงควรเข้าไปในเส้นทางนี้มากกว่า การเข้าไปใช้แรงงาน แต่จะต้องมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ตอนนี้ ที่ซาอุฯ มีห้องพัก 400,000 ห้อง รัฐบาลมีแผนจะสร้างห้องพัก ให้ได้ 1 ล้านห้องในปี 2030 ที่จะมีการจัดงานเวิร์ล เอ็กโป จะมีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในปี 2030 จึงเป็นโอกาสของคนไทย มุสลิมไทยที่จะเข้าไปทำงานในซาอุฯ
สิ่งที่มุสลิมไทยยังขาด คือ องค์กรด้านการเจรจาธุรกิจ คณะกรรมการกลางอิสลามฯ จึงควรจัดตั้งองค์กรนี้ขึ้่นมา เป็นตัวกลางในการประสานการเจรจากับซาอุฯ และประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งเวลาจุฬาราชมนตรี หรือคณะกรรมการกลางฯ เดินทางไป จะไปพบกับกระทรวงศาสนา ของซาอุฯ ไม่ได้พบกับกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ที่จะได้เจรจา ศึกษาข้อมูล จึงควรมีองค์กรที่มีบทบาทนำในด้านนี้
องค์กรที่มีบทบาทในส่วนนี้ของภาครัฐคือ ผู้แทนการค้าไทย ซึ่งตอนนี้มี 3 คน ซึ่งแต่ละคนก็รับผิดชอบในยุโรปบ้าง เอเชียบ้าง แต่ไม่มีคนรับผิดชอบตะวันออกลาง เคยคุยกับคนในรัฐบาล ก็ถูกขอให้ส่งชื่อมุสลิมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้แทนการค้ามา ซึ่งเท่าที่ดู ยังไม่มีใครที่มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมในตำแหน่งนี้ หรือใครมีก็ให้ส่งรายชื่อมาดู ยังมีโควต้าที่จะตั้งได้อีก 2 คน
มีบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีฐานในซาอุฯ ขอให้ส่งคนไทยมุสลิมมาเป็นผู้จัดการบริษัทที่มีความสามารถในการบริหารธุรกิจ มีเงินเดือนหลายแสนหรือเป็นล้าน ก็ยังมองไม่เห็น หรือมุสลิมที่จบจากศศินทร์ ยังไม่เห็น หากมีให้ติดต่อมาได้
ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนากับ ‘วัชระ แววดำ’ ผู้คร่พหวอดในการด้านการค้าการลงทุนในตะวันออกกลาง ซึ่งนรับว่า เป็นประโยชน์ที่มุสลิมไทยนำมาใช้ในการค้ากับลงทุนกับซาอุฯ และประเทศในตะวันออกกลาง