“สรรเพชญ” แนะ รัฐบาลต้องกล้าประกาศให้ “หาดใหญ่” เป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ สร้างงาน สร้างโอกาส ให้คนในพื้นที่ภาคใต้
วันที 22 ก.พ. 2567 นายสรรเพชญ บุญญามณี สส.สงขลา พรรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึง สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ว่า ภาคธุรกิจกำลังกลับมาฟื้นตัวอย่างช้า ๆ หลังซบเซามานานหลายปี จากวิกฤตโควิด 19 และปัญหาเรื้อรังของภาคธุรกิจ กลุ่ม SMEs จำนวนมาก คือ การเข้าถึงแหล่งทุน ทั้งทุนหมุนเวียนระยะสั้น และระยะยาว เพื่อเสริมสภาพคล่อง เพิ่มทุน ฟื้นกิจการ รวมทั้งเริ่มต้นกิจการ จึงเห็นโอกาสในการยกระดับเมือง “หาดใหญ่” สู่ “ศูนย์กลางการเงิน” แห่งใหม่ของภูมิภาค
“การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ราคาถูก ทั้งเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาว มันเป็นปัญหามายาวนาน และกลายเป็นข้อจำกัด โดยเฉพาะกับกลุ่ม SMEs และ Start Up เพราะต้องยอมรับว่าการเริ่มต้นนับหนึ่งทางธุรกิจมันไม่ง่ายในภาวะปัจจุบัน จึงคิดต่อว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ? มันก็มีหลายข้อเสนอ หลายแนวทาง แต่ผมคิดว่าข้อเสนอให้ยกระดับหาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่เทียบเท่าสิงคโปร์ หรือฮ่องกงนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย เพราะหาดใหญ่ ถือเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีต้นทุนสูง หากผลักดันให้สำเร็จมันจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคใต้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด”
นายสรรเพชญ ยังให้ความเห็นต่อว่า “พลวัตของหาดใหญ่ช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า เมืองเติบโตมาจากการค้า การลงทุน จนส่งผลให้หาดใหญ่เป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ ประกอบกับทำเลที่ตั้ง” ซึ่งนายสรรเพชญ มองว่าเป็นความได้เปรียบเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังเป็นเมืองด่านชายแดน ที่มีมูลค่าการค้าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย ในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.76 ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ผ่านด่านศุลกากรสะเดา และปาดังเบซาร์ นอกจากนี้ เศรษฐกิจหาดใหญ่ และพื้นที่โดยรอบ ยังขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว ดังจะเห็นได้ว่าปี 2565 มีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนไทยกว่า 2.9 ล้านคน คิดเป็นอันดับหนึ่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
นอกจากนี้ “หาดใหญ่” ยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ในปัจจุบัน ที่รายล้อมไปด้วยระบบเศรษฐกิจที่หลากหลายรูปแบบ มากไปกว่านั้น หาดใหญ่ยังตั้งอยู่ในเขตการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย คือ อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (Indonesia – Malaysia – Thailand Growth Triangle: IMT – GT) โดยในปี 2565 มีมูลค่าการค้ารวมกว่า 727 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือราว 2.58 แสนล้านบาท) รวมทั้ง IMT – GT ยังประกอบด้วยแผนงานการลงทุน Megaproject ในอนาคตที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ ให้กับพื้นที่ภาคใต้อีกหลายโครงการ เช่น โครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – สะเดา โครงการ Land Bridge ชุมพร – ระนอง เป็นต้น
“มันเป็นไปได้ครับ หากจะผลักดันหาดใหญ่ ให้เทียบเท่าสิงคโปร์ หรือฮ่องกง เพราะประวัติศาสตร์ของหาดใหญ่ มันบอกเราเช่นนั้น แต่ผมอยากให้ดูความได้เปรียบ เทียบจากต้นทุนที่เรามีซึ่งหาจากเมืองอื่นไม่ได้ เรานึกภาพ เมื่อไปสิงคโปร์ ฮ่องกง ตัวเลือกเราแทบจะน้อยสำหรับการท่องเที่ยว และพักผ่อน แต่หาดใหญ่ มองซ้าย มองขวา โดนขนาบข้างด้วยอันดามัน และอ่าวไทย มีเขตอารยธรรมสามจังหวัด ขึ้นเหนือ มีอารยธรรมศรีวิชัย เรามีแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม และธรรมชาติอยู่รอบๆ 360 องศา ตรงนี้ สำหรับผมมันคือ ความได้เปรียบ มากไปกว่านั้น หากเราดูแนวโน้มการพัฒนาในภูมิภาค จะเห็นว่า หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของเขตการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เป็นเมืองการค้าชายแดนที่มีมูลค่าการค้ากว่าปีละหลายแสนล้านบาท ในปี 2565 มีมูลค่าการค้ากับมาเลเซียราว 3 แสนล้านบาท หรือเกือบ 1 ใน 3 ของการค้าชายแดนของไทย กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด โดยผ่านทางด่านศุลกากรสะเดา และปาดังเบซาร์เสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ หาดใหญ่ และพื้นที่โดยรอบ ยังถือเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวมาเลเซียอีกจำนวนมาก ในปี 2565 มีจำนวนกว่า 2.9 ล้านคน คิดเป็นอันดับหนึ่งของต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในไทย ซึ่งในแต่ละเทศกาล กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียสร้างเงินสะพัดกว่า 1 พันล้านบาท ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมว่า “หาดใหญ่” ตั้งอยู่ในเขตการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย และไทย ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 2.5 แสนล้านบาท ในปี 2565 และยังมีแผนงานลงทุนMegaproject อีกจำนวนมากในอนาคต เช่น มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา หรือ ท่าเรือน้ำลึก ความพร้อมของภาคเอกชน ตัวอย่างที่ยกไปทั้งหมด เพื่อจะบอกว่า ทำไมหาดใหญ่จึงเหมาะสม สำหรับเป็นศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ในภูมิภาค และนี่มันเป็นความได้เปรียบ เป็นต้นทุนที่เรามี” นายสรรเพชญ มองความได้เปรียบเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของพื้นที่หาดใหญ่”
สำหรับการผลักดันหาดใหญ่ สู่เมืองศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของภูมิภาค นั้น นายสรรเพชญ เห็นว่า จำเป็นต้องมี “3 พร้อม” คือ สภาพแวดล้อมพร้อม โครงสร้างพื้นฐานพร้อม และบุคลากรพร้อม ขณะเดียวกัน ยังเห็นถึงความจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐอย่างสภาพัฒน์ฯ และแบงค์ชาติ จะเข้ามาร่วมผลักดันในเรื่องนี้
การผลักดันให้หาดใหญ่เป็นเมืองศูนย์กลางการเงิน ผมเห็นว่าเราต้องมี “3 พร้อม” เป็นอย่างน้อย คือ “สภาพแวดล้อมพร้อม” หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามา ตรงนี้ จำเป็นต้องปลดล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ ตั้งแต่การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การลดขั้นตอนซ้ำซ้อน การคิดเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี การคุ้มครองและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากการประกอบธุรกิจ ประการที่สอง “โครงสร้างพื้นฐานพร้อม” โครงสร้างพื้นฐาน ที่หมายถึงโครงสร้างเมือง ถนนหนทาง การสัญจร และ โครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเงิน ประการสุดท้ายคือ “บุคลากรพร้อม” เพื่อรองรับตลาดแรงงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน ซึ่งในพื้นที่เรามีสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ หลายสถาบัน รองรับการผลิตแรงงานอยู่แล้ว
ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผมเห็นว่า หาดใหญ่ มีความพร้อมเป็นทุนเดิม และหากต้องพัฒนาต่อยอด ภาคเอกชนเขาก็พร้อมจะลงทุน เมื่อคิดอย่างรอบด้าน หาดใหญ่จึงเป็นเมืองที่มีความพร้อมในทุกมิติ ยังคงขาดแต่นโยบายผลักดันที่เอาจริงเอาจังเท่านั้น หากฝ่ายบริหารเอาด้วย การแก้ไขกฎหมาย ระเบียบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนก็คงไม่ใช่เรื่องยาก และเมื่อทุนมากองอยู่ที่หาดใหญ่ มันจะทำให้ธุรกิจน้อยใหญ่ กลุ่ม SMEs มีแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงง่าย ส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเกิดการพัฒนา และขยายตัวตามไปด้วย ผมเชื่อว่าศูนย์กลางการเงินนี้ มันจะนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการเงินในอนาคต ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมหาศาล สุดท้ายนะครับ ผมอยากฝากให้หน่วยงานที่ดูแลภาพรวมของประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินอย่างสภาพัฒน์ฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมผลักดัน ศึกษาแนวทางในเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วยเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน
“สรรเพชญ” แนะ รัฐบาลต้องกล้าประกาศให้ “หาดใหญ่” เป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ สร้างงาน สร้างโอกาส ให้คนในพื้นที่ภาคใต้
วันที 22 ก.พ. 2567 นายสรรเพชญ บุญญามณี สส.สงขลา พรรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึง สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ว่า ภาคธุรกิจกำลังกลับมาฟื้นตัวอย่างช้า ๆ หลังซบเซามานานหลายปี จากวิกฤตโควิด 19 และปัญหาเรื้อรังของภาคธุรกิจ กลุ่ม SMEs จำนวนมาก คือ การเข้าถึงแหล่งทุน ทั้งทุนหมุนเวียนระยะสั้น และระยะยาว เพื่อเสริมสภาพคล่อง เพิ่มทุน ฟื้นกิจการ รวมทั้งเริ่มต้นกิจการ จึงเห็นโอกาสในการยกระดับเมือง “หาดใหญ่” สู่ “ศูนย์กลางการเงิน” แห่งใหม่ของภูมิภาค
“การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ราคาถูก ทั้งเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาว มันเป็นปัญหามายาวนาน และกลายเป็นข้อจำกัด โดยเฉพาะกับกลุ่ม SMEs และ Start Up เพราะต้องยอมรับว่าการเริ่มต้นนับหนึ่งทางธุรกิจมันไม่ง่ายในภาวะปัจจุบัน จึงคิดต่อว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ? มันก็มีหลายข้อเสนอ หลายแนวทาง แต่ผมคิดว่าข้อเสนอให้ยกระดับหาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่เทียบเท่าสิงคโปร์ หรือฮ่องกงนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย เพราะหาดใหญ่ ถือเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีต้นทุนสูง หากผลักดันให้สำเร็จมันจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคใต้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด”
นายสรรเพชญ ยังให้ความเห็นต่อว่า “พลวัตของหาดใหญ่ช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า เมืองเติบโตมาจากการค้า การลงทุน จนส่งผลให้หาดใหญ่เป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ ประกอบกับทำเลที่ตั้ง” ซึ่งนายสรรเพชญ มองว่าเป็นความได้เปรียบเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังเป็นเมืองด่านชายแดน ที่มีมูลค่าการค้าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย ในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.76 ของมูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ผ่านด่านศุลกากรสะเดา และปาดังเบซาร์ นอกจากนี้ เศรษฐกิจหาดใหญ่ และพื้นที่โดยรอบ ยังขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว ดังจะเห็นได้ว่าปี 2565 มีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนไทยกว่า 2.9 ล้านคน คิดเป็นอันดับหนึ่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
นอกจากนี้ “หาดใหญ่” ยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ในปัจจุบัน ที่รายล้อมไปด้วยระบบเศรษฐกิจที่หลากหลายรูปแบบ มากไปกว่านั้น หาดใหญ่ยังตั้งอยู่ในเขตการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย คือ อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (Indonesia – Malaysia – Thailand Growth Triangle: IMT – GT) โดยในปี 2565 มีมูลค่าการค้ารวมกว่า 727 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือราว 2.58 แสนล้านบาท) รวมทั้ง IMT – GT ยังประกอบด้วยแผนงานการลงทุน Megaproject ในอนาคตที่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ ให้กับพื้นที่ภาคใต้อีกหลายโครงการ เช่น โครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ – สะเดา โครงการ Land Bridge ชุมพร – ระนอง เป็นต้น
“มันเป็นไปได้ครับ หากจะผลักดันหาดใหญ่ ให้เทียบเท่าสิงคโปร์ หรือฮ่องกง เพราะประวัติศาสตร์ของหาดใหญ่ มันบอกเราเช่นนั้น แต่ผมอยากให้ดูความได้เปรียบ เทียบจากต้นทุนที่เรามีซึ่งหาจากเมืองอื่นไม่ได้ เรานึกภาพ เมื่อไปสิงคโปร์ ฮ่องกง ตัวเลือกเราแทบจะน้อยสำหรับการท่องเที่ยว และพักผ่อน แต่หาดใหญ่ มองซ้าย มองขวา โดนขนาบข้างด้วยอันดามัน และอ่าวไทย มีเขตอารยธรรมสามจังหวัด ขึ้นเหนือ มีอารยธรรมศรีวิชัย เรามีแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม และธรรมชาติอยู่รอบๆ 360 องศา ตรงนี้ สำหรับผมมันคือ ความได้เปรียบ มากไปกว่านั้น หากเราดูแนวโน้มการพัฒนาในภูมิภาค จะเห็นว่า หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของเขตการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เป็นเมืองการค้าชายแดนที่มีมูลค่าการค้ากว่าปีละหลายแสนล้านบาท ในปี 2565 มีมูลค่าการค้ากับมาเลเซียราว 3 แสนล้านบาท หรือเกือบ 1 ใน 3 ของการค้าชายแดนของไทย กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด โดยผ่านทางด่านศุลกากรสะเดา และปาดังเบซาร์เสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ หาดใหญ่ และพื้นที่โดยรอบ ยังถือเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวมาเลเซียอีกจำนวนมาก ในปี 2565 มีจำนวนกว่า 2.9 ล้านคน คิดเป็นอันดับหนึ่งของต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในไทย ซึ่งในแต่ละเทศกาล กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียสร้างเงินสะพัดกว่า 1 พันล้านบาท ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมว่า “หาดใหญ่” ตั้งอยู่ในเขตการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย และไทย ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 2.5 แสนล้านบาท ในปี 2565 และยังมีแผนงานลงทุนMegaproject อีกจำนวนมากในอนาคต เช่น มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา หรือ ท่าเรือน้ำลึก ความพร้อมของภาคเอกชน ตัวอย่างที่ยกไปทั้งหมด เพื่อจะบอกว่า ทำไมหาดใหญ่จึงเหมาะสม สำหรับเป็นศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ในภูมิภาค และนี่มันเป็นความได้เปรียบ เป็นต้นทุนที่เรามี” นายสรรเพชญ มองความได้เปรียบเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของพื้นที่หาดใหญ่”
สำหรับการผลักดันหาดใหญ่ สู่เมืองศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของภูมิภาค นั้น นายสรรเพชญ เห็นว่า จำเป็นต้องมี “3 พร้อม” คือ สภาพแวดล้อมพร้อม โครงสร้างพื้นฐานพร้อม และบุคลากรพร้อม ขณะเดียวกัน ยังเห็นถึงความจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐอย่างสภาพัฒน์ฯ และแบงค์ชาติ จะเข้ามาร่วมผลักดันในเรื่องนี้
การผลักดันให้หาดใหญ่เป็นเมืองศูนย์กลางการเงิน ผมเห็นว่าเราต้องมี “3 พร้อม” เป็นอย่างน้อย คือ “สภาพแวดล้อมพร้อม” หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามา ตรงนี้ จำเป็นต้องปลดล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ ตั้งแต่การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การลดขั้นตอนซ้ำซ้อน การคิดเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี การคุ้มครองและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากการประกอบธุรกิจ ประการที่สอง “โครงสร้างพื้นฐานพร้อม” โครงสร้างพื้นฐาน ที่หมายถึงโครงสร้างเมือง ถนนหนทาง การสัญจร และ โครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเงิน ประการสุดท้ายคือ “บุคลากรพร้อม” เพื่อรองรับตลาดแรงงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน ซึ่งในพื้นที่เรามีสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ หลายสถาบัน รองรับการผลิตแรงงานอยู่แล้ว
ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผมเห็นว่า หาดใหญ่ มีความพร้อมเป็นทุนเดิม และหากต้องพัฒนาต่อยอด ภาคเอกชนเขาก็พร้อมจะลงทุน เมื่อคิดอย่างรอบด้าน หาดใหญ่จึงเป็นเมืองที่มีความพร้อมในทุกมิติ ยังคงขาดแต่นโยบายผลักดันที่เอาจริงเอาจังเท่านั้น หากฝ่ายบริหารเอาด้วย การแก้ไขกฎหมาย ระเบียบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนก็คงไม่ใช่เรื่องยาก และเมื่อทุนมากองอยู่ที่หาดใหญ่ มันจะทำให้ธุรกิจน้อยใหญ่ กลุ่ม SMEs มีแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงง่าย ส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเกิดการพัฒนา และขยายตัวตามไปด้วย ผมเชื่อว่าศูนย์กลางการเงินนี้ มันจะนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการเงินในอนาคต ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมหาศาล สุดท้ายนะครับ ผมอยากฝากให้หน่วยงานที่ดูแลภาพรวมของประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินอย่างสภาพัฒน์ฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมผลักดัน ศึกษาแนวทางในเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วยเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน