“ชาดา ไทยเศรษฐ” รมช.มหาดไทย เปิดงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เสริมความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสู่ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขอย่างยั่งยืน
วันที่ 19 ธ.ค. 2566 เวลา 14.00 น. ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พลังสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชน สู่ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขอย่างยั่งยืน โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้กล่าวรายงาน
นายชาดา ไทยศรษฐ์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริม และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตแก่ประชาชน และชุมชน เพื่อให้สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ และพึ่งตนเองได้ ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์พูนสุข“สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้ามารดา เป็นความยิ่งใหญ่ ของสุภาพสตรี ทุกความสำเร็จของบุรุษมีสตรีอยู่เบื้องหลัง ตนเองพร้อมผลักดันการทำงานของกองทุน อยากเห็นกองทุนบทบาทสตรี ช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน เชื่อว่าแก้ปัญหานี้ได้ ไม่มากก็น้อย รวมทั้งเงินดิจิทัล ต้องมาใช้สินค้าในชุมชน ไม่ว่า SME หรือ OTOP ที่อยู่ในตำบลนั้น เพื่อให้เม็ดเงินกระจายในท้องถิ่นได้ และเกิดการหมุนเวียนในชุมชน” นายชาดา กล่าว นายชาดา กล่าวต่อว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา ที่มีกว่า 16 ล้านคน และสมาชิกประเภทองค์กรอีกเกือบ 8 หมื่นองค์กร เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีให้บรรลุวัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์ที่ว่า “เป็นแหล่งทุนที่สำคัญของสตรีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจในชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” และท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายสำคัญสู่การขับเคลื่อนภารกิจ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของกระทรวงมหาดไทย “ทันโลก ทันสมัย ทันท่วงที” และนโยบาย 10 ประการ ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย1)การพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างรายได้โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ 2) น้ำดื่มสะอาดฟรี ลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน 3) การลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันของทุกส่วนราชการ 4) พลังงานสะอาด 5) การจัดระเบียบสังคม ปราบปรามผู้มีอิทธิพล 6) การบริการประชาชนแบบ One Stop Service 7) การอำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว 8) การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาด และการจำหน่าย 9) การแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 10) สนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุขปฐมภูมิและการเตรียมความพร้อมท้องถิ่นรองรับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งนโยบายทั้ง 10 ประการนี้ต้องเกี่ยวข้องกับพี่น้องสตรีทั้งทางตรง และทางอ้อม ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้ประชาชนเกิด “ความอุดมสมบูรณ์พูนสุข”สำหรับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับสตรี และเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาศักยภาพสตรี แก้ไขปัญหาของสตรี ที่ผ่านมากองทุนพัฒนาบทบาทสตรีสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กับสตรีจำนวน 168,275 โครงการ เป็นเงิน 17,095,272,161 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาท) มีการสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพสตรี จำนวน 46,846 โครงการ เป็นเงิน 2,460,423,065 บาท (สองพันสี่ร้อยล้านบาท) มีผู้ได้รับประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 26,196,700 คน (ยี่สิบหกล้านคน) การจัดงานตามโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พลังสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชนสู่ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพกลไกการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในการดำเนินงานกองทุนฯ และเพื่อเสริมสร้างความรู้และสร้างโอกาสให้กับกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสู่ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขอย่างยั่งยืน มีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย หัวหน้าคณะทำงาน และคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี คณะกรรมการพัฒนาสตรี กลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน พนักงานกองทุนที่ได้รับมอบหมาย จาก 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รวม 800 คน