อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สิ้นสุด 30 ปีกับประชาธิปัตย์

177

วันที่ 9 ธันวาคม 2566 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำรงตำแหน่งยาวนาน กว่า 14 ปี ได้ประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในระหว่างการประชุมพรรคประชาธิปัตย์เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทิ้งพรรคที่สังกัดเป็นสมาชิกมายาวนาน กว่า 30 ปี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกบ่มเพาะจากครอบครัวเข้าสู่สายการเมืองตั้งแต่เด็ก ด้วยการเรียนที่โรงเรียนฮิลตัน โรงเรียนของชนชั้นนำในอังกฤษตั้งแต่เด็ก และเรียนที่อังกฤษจบระดับปริญญาโท สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐกิจ กลับมาเริ่มทำงานเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี 2535 นายอภิสิทธิ์ เข้าสังกัดประชาธิปัตย์ และลงสมัครส.ส.กรุงเทพมหานคร อภิสิทธิ์ ถูกมองว่า เป็นความหวังของสังคมไทย ด้วยเป็นคนที่มีความรู้ มีความสามารถ พูดเก่ง ภาพลักษณ์ดี และมีทัศนคติและวิสัยทัศน์ที่ดี ในการเลือกตั้งปี 2535 ครั้งที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์สอบตกกราดรูดทั้งกรุงเทพฯ พ่ายแพ้ให้กับพรรคพลังธรรมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง มีเพียงนายอภิสิทธิ์ คนเดียวที่สอบผ่านมาได้ และนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

เลือกตั้งปี 2535 ครั้งที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์ได้มากที่สุด นายชวน หลักภัย เป็นนายกรัฐมนตรี คราวนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้เป็นโฆษกรัฐบาล มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปต่างประเทศของนายกฯชวน ในรัฐบาลชวน 2 นายอภิสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ผลงานก็ไม่โดดเด่นมากนัก แต่บทบาทมากโดดเด่นในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ในการเป็นฝ่ายค้าน ที่มีลาลาการอภิปราย สำนวนโวหารที่จับใจคนฟัง จนได้รับการยกย่องให้เป็นฝ่ายค้านที่ดีที่สุด

หลังสิ้นยุคนายชวน นายอภิสิทธิ์ ถูกชูเป็นหัวหน้าประชาธิปัตย์ เป็นคนหนุ่มที่มองว่า จะเป็นพลังขับเคลื่อนพรรคได้ แต่ถูกขั้นด้วย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน แต่เมื่อแพ้การเลือกตั้งต่อพรรคเพื่อไทย นายบัญญัติ ลาาออก นายอภิสิทธิ์ จึงถูกเลือกเป็นหัวหน้าประชาธิปัตย์คนที่ 7

นายอภิสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2548 ท่ามกลางวิกฤติการทางการเมือง การเมืองกำลังเข้าสู่ยุคการประท้วงขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร จนนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อปี 2549 โดยการนำของพล.องศนธิ บุณยรัตกลิน

การเมืองกลับเข้าสู่การเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2551 นายอภิสิทธิ์ ไม่สามารถนำพาพรรคประชาธิปัตย์ ชนะพรรคพลังประชาชนในเครือข่ายของทักษิณ ชินวัตรได้ แต่พรรคได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุดมากกว่ายุคใด 166 เสียง วิกฤติการเมืองในปี 2551 มีการออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช จนนายสมัครถูกศาลสั่งว่า ทำผิดกฎหมาย ต้องพ้นจากตำแหน่ง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้เข้ามาแทน แต่ไม่นานนายสมชายก็พ้นจากตำแหน่งจากกรณีการยุบพรรคพลังประชาชน

นายอภิสิทธิ์ ได้รับการโหวตเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ด้วยเสียงของกลุ่มงูเห่า ในพรรคพลังประชาชนที่แยกตัวออกมากพลังประชาชน โดยนายเนวิน ชิดชอบ นำส.ส. 20 กว่าคนิกมาสนับสนุน ต่อมาก่อตั้งเป็นพรรคภูมิใจไทย

แม้จำนวนเสียงไม่มาก แต่อำนาจต่อรองของภูมิใจไทยมีมาก พรรคแกนนำอย่างประชาธิปัตย์ ต้องเสียสละ กระทรวงใหญ่ ทั้งมหาดไทย และคมนาคม ให้ภูมิใจไทย

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ต้องเผชิญกับการต่อต้านของกลุ่มเสื้อแสดง ที่สนับสนุนโดยเครือข่ายทักษิณ ชินวัตร ในนามกลุ่มนปช. ชุมนุมใหญ่ในปี 2552 และ 2553 มีการปิดแยกราชประสงค์เพื่อประท้วง นำไปสู่การประกาศกฎอัยการศึก และการล้อมปราบ มีผู้เสียชีวิต 99 คน ต่างกรรมต่างวาระ ขณะที่ชายแดนก็มีปัญหาพิพาทกับกัมพูชา กรณีเขาพระวิหาร เรียกว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ ถูกบีบทุกด้านเพื่อไม่ให้สามารถทำงานได้

การบริหารท่ามกลางวิกฤติ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ได้เสนอ”วาระประชาชน” เพื่องพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องในชนบท และผู้ใช้แรงงานของไทยเป็นหลัก ได้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสามปีมูลค่า 150,000 ล้านบาท และโครงการประกันรายได้เกษตรกร

นายอภิสิทธิ์ ต้องเผชิญกับข้อกล่าวสั่งสังหารประชาชนในการชุมนุมของนปช. ประเด็น บุคคล 2 สัญชาติอังกฤษและไทย และไม่เข้ารับการเกณท์ทหาร แต่ก็ผ่านพ้นมาได้ การไม่สามารถคุมสภาพได้ 100% ทำให้การเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2554 ต้องพ่ายแพ้ต่อพรรคเพื่อไทย ที่ชูยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ

หลังความพ่ายแพ้ นายอภิสิทธิ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่ได้รับเลือกใหม่ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน จนเกิดวิกฤติการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอยของรัฐบาลยิ่งลักษณื ตอนตี 3 เกิดการชุมนุมครั้งใหญ่อีกครั้ง จากปลายปี 2556 จนถึงกลางปี 2557 จนเกิดการรัฐประหาร ในปี 2557 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กลับเข้าสู่การเลือกตั้งในปี 2562 พรรคประชาธิปัตย์ ต้องลงแข่งกับ พรรคพลังประชารัฐ ที่ชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ที่กำลังเป็นที่นิยมของฝ่ายอนุรักษ์นิยมแทนพรรคประชาธิปัตย์ ในสัปดาห์สุดท้าย นายอภิสิทธิ์ ประกาศไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ส่งผลให้กระแสของประชาธิปัตย์ลดฮวบ จากที่ประมาณการไว้ว่าจะได้รับการเลือกตั้งกลับมา 100 กว่าเสียง ถึงวันเลือกตั้งได้รับเลือกตั้งเพียง 50 กว่าเสียง นายอภิสิทธิ์ รับผิดชอบด้วยการลาออกจากหัวหน้าพรรค และลาออกจากส.ส.

ประชาธิปัตย์ เข้าสู่จุดตกต่ำอีกครั้ง หลังการเข้ามาเป็นหน้าพรรคของจุรินทร์ ลักษวิศิษฎ์ เหลือส.ส.เพียง 24 เสียง และไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล แต่มีกระแสให้นายอภิสิทธิ์ เข้ามากอบกู้พรรคอีกครั้ง แต่ปัจจัยภายในพรรคได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การเติบโตของกลุ่มนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เดชอิสก์ ขาวทอง และชัยชนะ เดชเดโช ประกอบกับการการเมืองเปลี่ยนไปใช้เงินในการเลือกตั้งมากขึ้น ภายในพรรคจึงให้การตอบรับน้อย แม้จะมีผู้อาวุโส อย่างนายชวน หลีกภัย ผลักดันก็ตาม แต่มนต์ขลังของนายชวน หมดลงแล้วเช่นกัน

ทำให้การเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืดเยื้อมาถึง 3 ครั้ง และครั้งสุดท้าย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค หลังนายชวน เสนอเชื่อเป็นหัวหน้าพรรค เป็นการสิ้นสุดการทำงานในประชาธิปัตย์กว่า 30 ปี ของนายอภิสิทธิ์ แต่จะสิ้นสุดตลอดไปหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้

เหมือนสุภาษิต ที่ว่า ทหารแก่ไม่มีวันตาย นายอภิสิทธิ์ ในวัยเพียง 59 ปี ยังมีโอกาสอีกมากในทางการเมือง