เลขาฯองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC นำคณะ รับฟังบรรยาย การอยู่ร่วมกันของ ชุมชนสามศาสนา “พุทธ-อิสลาม-คริตส์” ภายใต้ สังคมพหุวัฒนธรรม ชื่นชมชาว “กุฎีจีน” แม้ต่างความเชื่อ ศาสนา และ ศาสดา สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสันติ และ สงบสุข พร้อมเตรียม เยี่ยมคารวะ นายกฯ และ จุฬาราชมนตรี พรุ่งนี้(10 ก.ค.)
วันที่ 9 ก.ค.2566 เวลา 14.00 น. นายฮุชัย บรอฮิม ฎอฮา เลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) พร้อมด้วยคณะ เดินทางมาที่ วัดประยูรวงศาวาส ย่านกุฎีจีน เพื่อเยี่ยมชมการอยู่ร่วมกันของชุมชน 3 ศาสนา พุทธ คริสต์ และ อิสลาม ในรูปแบบ สังคม “พหุวัฒนธรรม” นับตั้งแต่เริ่มต้น กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมี พระพรหมบัณฑิต วัดประยูรวงศาวาส , “อิหม่ามเฟาซัน” นายพัฒนา หลังปูเต๊ะ ตัวแทนชาวมุสลิมบางหลวง และ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ บาทหลวง โบสถ์ซางตาครู้ส ให้การต้อนรับ ก่อนนำเข้าสู่ เวทีรับฟังการบรรยาย ประวัติชุมชน 3 ศาสนา ณ. ชั้น3 อาคาร สิริภักดีธรรมโอกาสนี้ เลขาฯ OIC ได้ชื่นชม ชุมชนกุฎีจีน ที่สามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข แม้จะมีความเชื่อ ศาสนา และ ศาสดา ต่างกัน อย่างที่ชุมชนกุฏีจีนกระทำอยู่ แสดงให้เห็นถึง ความเข้าใจ เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญอันนั้น คือ แลกเปลี่ยนที่ดีต่อกัน เป็นไปตามบริบทของแต่ละศาสนา พร้อมยกตัวอย่างว่า ตนเป็น ชาวชาด ประเทศตกอยู่ในอาณานิคมของฝรั่งเศส เกิดภาวะสงคราม ฆ่าฟัน ล้มตายเป็นจำนวนมาก ก่อนจะมีความสงบอย่างในปัจจุบัน ต้องใช้เวลานาน ในการสร้างความสามัคคี สร้างความเข้าใจ โดยยึดหลัก สันติ และ สงบสุข ซึ่งเป็นแก่นแท้ของการอยู่ร่วมกัน อันเป็น “โมเดล” ที่เราได้แบ่งปันให้ สมาชิกกลุ่มประเทศ OIC ทั้ง 37 ประเทศ นำไปใช้ “เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ต้องเป็นไปตามบริบทของกฎหมายของแต่ละชาติและของแต่ละศาสนา ข้าพเจ้าเป็นชนเชื้อชาด ประเทศของเราตกอยู่ในสภาวะสงคราม มีการเข่นฆ่า ล้างผลาญชีวิตและเผ่าพันธ์มาเป็นเวลานาน สงครามเกิดขึ้นทั่วโลก เกิดขึ้นแล้วจบไป แต่ก็กลับมาเกิดขึ้นอีก ดังนั้น การอยู่ร่วมกันอย่างสันติขึงจำเป็นที่พวกเราชาวโลกต้องรักษาไว้”พระพรหมบัณฑิต ได้ฉายสไลด์ ให้เห็นแผนที่ของ ชุมชุนกุฎีจีน ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ที่อยู่ร่วมกันมากว่า 200 ปี ส่วนใหญ่จะเป็น ชุมชนมุสลิม บางหลวง และ ชาวไทยพุทธ ที่มีประมาณ 2 หมื่นคน ขณะที่ ชาวคริสต์ มีประมาณ 200 ครัวเรือน พร้อมเน้นย้ำ การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมแห่งนี้ ไม่เคยมีเรื่องราว ทะเลาะเบาะแว้ง ต่างอยู่ร่วมกันโดยสันติ สิ่งแรกผู้นำศาสนาที่มาพบปะแลกเปลี่ยนกันครั้งนี้เป็นนิติหมายที่ดี ที่สำคัญเราต้องสร้าง ความสัมพันธุ์ที่ดีในกลุ่มผู้นำศาสนาด้วยกันก่อน จากนั้นค่อยขยายต่อยอดไปยังสมาชิกที่เป็นลูกบ้าน มีเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนา ด้วยการ “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” เมื่อยอมรับกันแล้ว ก็มาถึงการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน คนพุทธ ต้องเปิดกว้าง ในฐานะเจ้าของบ้าน ด้วยการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ที่ผ่านมา วัดประยูรฯของเรา ได้จัดตลาดให้ ทุกชุมชนในกุฎีจีน นำสินค้ามาจำหน่าย โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆ พยามเป็นตัวกลางชักชวนทุกคนทุกศาสนามาจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวและสร้างความสามัคคี“ขอสื่อสารไปยังท่านเลขาฯ OIC ที่มีประเทศสมาชิกอยู่ในองค์กรจำนวนมาก ท่านต้องเผื่อแผ่ ต่อ ศาสนาพุทธ และ ศาสนาคริสต์ ที่เป็นคนส่วนน้อย สื่อกลางให้ซึมซับ ถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติเพื่อให้ชาวโลกอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข”
ขณะที่ “อิหม่ามเฟาซัน” กล่าวว่า ตนในฐานะผู้แทนชาวมุสลิมในกุฎีจีน รู้สึกภูมิใจ ที่ท่านเลขา OIC ให้เกียติเดินทางมาในครั้งนี้ อยากบอกว่าต้นตระกูลของตน ฝั่งมารดา อยู่ ณ ที่แห่งนี้ มากว่า 400ปี สืบทอดมาจาก บรรพบุรุษ เป็นชาวเปอร์เซีย ที่เดินทางมาสยาม เรามีประวัติศาสตร์เรื่องเล่ามากมาย สิ่งที่ประทับใจมาก ตั้งแต่เกิด เราอยู่ร่วมกันหลายศาสนา แต่ไม่เคยทะเลาะกัน ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ที่ชาติอื่นใดไม่มี แม้แต่ ศาสนาอิสลามเอง ที่แบ่งเป็นสองนิกาย คือชีอะห์ กับ สุหนี่ ยังทะเลาะ ฆ่าฟันกัน แต่ที่นี่ กุฎีจีน ไม่เคยเกิดขึ้น เช่นเดียว บทบัญญัติในคัมภีร์ อัลกุรอ่าน ที่ห้าไม่ให้อิสลามทะเลาะกัน“ผมจะเล่าความจริงให้ฟัง ที่ผ่านมาคนมุสลิม 15 ล้านคน ที่อยู่ในประเทศไทย อ่านอัลกุรอ่านได้หมด แต่เชื่อหรือไม่ 90 เปอร์เซนต์ ไม่รู้ความหมาย ต้องบินไปตะวันออกกลาง ให้ช่วยแปลให้ และถ้าไม่ใช่ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ซึ่งพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานเมาว์ลิดกลาง และ ได้รับฟังการอ่านคัมภีร์กุรอ่าน พระองค์ท่านได้รับสั่งว่า รู้สึกประทับใจ และ ไพเราะมาก แต่เราอยากรู้ความหมาย จึงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ ท่านต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี ดำเนินการแปลเป็นภาษาไทย และ มอบให้เป็นหนังสือประจำมัสยิด และ ห้องสมุดต่างๆทั่วประเทศไทยตราบจมาถึงทุกวันนี้”ด้าน ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ บาทหลวงโบสถ์ซางตาครู้ส กล่าวว่าขอใช้เวลาสั้นๆ บอกเล่าความเป็นอยู่ของชาวคริสต์ชุมชนกุฎีจีน ซึ่งเป็นชาวคาทอลิก อยู่ที่นี่ได้อย่างไร “หลักคือ พวกเราถือว่าทุกคนเป็นพี่น้องกัน และ ในพระคัมภีร์เองและองค์สันตปาปา ก็ได้บัญญัติสั่งสอนอยู่ตลอดเวลา พสกเราเป็นพี่น้องกันในสังคมพหุวัฒนธรรม เราชาวคาทอลิก อาศัยอยู่ในกุฎีจีนมาแล้ว 264 ปี ตั้งแต่สมัยกระเจ้ากรุงธนบุรี ประกาศอิสรภาพจากพม่า พระองค์พระราชทานเงินให้จำนวนหนึ่ง และ ที่ดิน1ผืน มอบให้พวกเราชาวคริสต์ได้อาศัยอยู่มาจนถึงทุกวันนี้”สำหรับคำว่า “ซางตาครู้ส” เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า “กางเขนศักดิ์สิทธิ์” ตัวอาคารของโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบ นีโอคลาสสิก และ เรเนอซองซ์ ลักษณะโดดเด่น คือ หอระฆังทรงแปดเหลี่ยมประดับด้วยไม้กางเขนบนยอด ตัวอาคารก่ออิฐประดับลายปูนปั้น ส่วนล่างเป็นห้องโถงประกอบด้วยซุ้มโค้งที่สอดรับกัน ตกแต่งด้วยกระจกสี ที่ถ่ายทอดเรื่องราวจากพระคัมภีร์ รวมทั้งกระจกสแตนกลาส 3 บาน
นอกจากนี้ สิ่งที่ยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ “ขนมฝรั่งกุฎีจีน” ซึ่งถือได้ว่าเป็นขนมโบราณที่ยังคงยึดสูตรตามตำรับ ดั้งเดิมของชาวโปรตุเกส เป็นลูกผสมระหว่างจีนกับฝรั่ง มีลักษณะคล้ายขนมไข่ ตัวขนมเป็นต้นตำรับของโปรตุเกส ขณะที่หน้าของขนมเป็นแบบจีน
สำหรับคณะของนายฮุชัย บรอฮัม ฎอฮา เลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC มีกำหนด เข้าพบเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 10 ก.ค.2566 เวลา 09.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล และ เวลา 10.00 น. เข้าพบ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี