“อลงกรณ์ พลบุตร” ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ นำทีมไทยเยือนจีน ขยายส่งออก “กุ้งและผลไม้” พร้อมสำรวจ “ท่าเรือจ้านเจียง” เปิดเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าไปจีน เพิ่มโอกาสการค้า ของทั้งสองประเทศ
วันที่ 18 มิ.ย.2566 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์เปิดเผย ว่าได้นำคณะผู้แทนไทยประกอบด้วยนายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายปรัตถกร แท่นมณี กงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว นายกลศ หิรัญบูรณะ นายกสมาคมและคณะที่ปรึกษาสมาคมการค้าเพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร เดินทางเยือนเมืองจ้านเจียง ซึ่งเป็นเมืองท่าใหญ่ใต้สุดของมณฑลกวางตุ้ง โดยเข้าเยี่ยมชมท่าเรือจ้านเจียง และ ประชุมหารือกับผู้บริหารของท่าเรือจ้านเจียงเกี่ยวกับ การเปิดเส้นทางการขนส่งทางเรือจากไทยมายังท่าเรือจ้านเจียง และ ยังได้สำรวจตลาดสินค้าเกษตรเชียงหนานเสียซานซึ่งเป็นสาขาของตลาดเชียงหนาน-กวางโจว อันเป็นตลาดค้าขายผลไม้ใหญ่ที่สุดในจีนนายอลงกรณ์กล่าวว่า การเปิดเมืองท่าค้าขายให้มากที่สุด เป็นการสร้างโอกาสการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ท่าเรือจ้านเจียง จึงเป็นอีกทางเลือกของการขนส่งสินค้าทางเรือตอนใต้สุด ของมลฑลกวางตุ้ง โดยใช้เวลาขนส่งจากแหลมฉบังไปท่าเรือจ้านเจียงไม่เกิน 3 วัน รวมทั้งเป็นการรองรับการส่งออกทุเรียนและผลไม้อื่นๆ กรณีที่เกิดปัญหาติดขัดบริเวณด่านทางบกเช่น ด่านโหย่วอี้กวน ตงชิง และ โมฮ่านที่อยู่พรมแดน “เวียดนาม-จีน” และ “ลาว-จีน” เช่นกรณี โควิด หรือ ช่วงพีคของผลไม้ไทยและเวียดนามออกพร้อมกัน ยิ่งกว่านั้นยังสามารถส่งออกสินค้าเกษตรอื่นๆรวมทั้งสินค้าของไทยทุกประเภท ประการสำคัญคือ เมืองจ้านเจียงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมกุ้งของจีนทำให้มีโอกาสที่ไทยจะส่งออกกุ้งมาจ้านเจียงเพิ่มขึ้น“เมืองจ้านเจียงมีความพร้อมทางด้านระบบห่วงโซ่ความเย็น ห้องเย็นอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำและตลาดในมณฑลกวางตุ้ง และ มณฑลภาคจะวันตก 13 มณฑล เช่น เสฉวน กุ้ยโจว มหานครฉงชิง ซึ่งจะเป็นอีกเส้นทางการขนส่งทางน้ำนอกเหนือจากท่าเรือในเขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง” นายอลงกรณ์ กล่าวสำหรับท่าเรือจ้านเจียง เป็นท่าเรือน้ำลึกทางตอนใต้ที่สําคัญของจีน เปิดให้บริการตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ปี 2499 มี ท่าเทียบเรือ และ จุดจอดเรือ 162 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้รวม 346.93 ล้านตัน มีศักยภาพ ที่สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์รวม 800,00 ตู้ TEU/น้ําหนักรวม 9.6 ล้านตัน รองรับการขนถ่ายรถยนต์ 6.275 ล้านคัน/น้ำหนักรวม 124.5 ล้านตัน ผู้โดยสาร 31.78 ล้านคน มีแนวเดินเรือน้ําลึกที่สุดทางภาคใต้ ของจีนรองรับเรือระวาง 400,000 ตันได้ ปัจจุบันมีเส้นทางเดินเรือขนส่งตู้คอนเทเนอร์ 23 เส้นทาง เป็นเส้นทางระหว่างประเทศ 10 เส้นทาง และเส้นทางในประเทศ 13 เส้นทาง รวมถึงเปิดให้บริการการเชื่อมต่อ การขนส่งทางรถไฟเชื่อมกับทางเรือ จํานวน 22 เส้นทาง ในจีน เชื่อมโยงไปมณฑลยูนนาน กุ้ยโจว และหูหนาน เป็นต้นบริษัทท่าเรือจ้านเจียง กรุ๊ป จํากัด รับผิดชอบบริหารพื้นที่ เขตท่าเรือ 4 เขต ได้แก่ เขตท่าเรือเสียซาน เป๋าหม่าน เตี้ยวซุ่นต่าว และตงไหต่าว โดยมีท่าเทียบเรือและจุดเทียบเรือ รวม 36 แห่ง ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือบรรทุกน้ํามันดิบ 300,000 ตัน ท่าเทียบเรือแร่เหล็ก 250,000 ตัน ท่าเทียบเรือถ่านหิน 150,000 ตัน ท่าเทียบเรือระวาง 150,000 ตัน และท่าเทียบเรือตู้คอนเทเนเนอร์ระวาง 150,000 ตัน ในปี 2565 เขตท่าเรือในการบริหารของบริษัทฯ มีการขนถ่ายสินค้ารวม 101.39 ล้านตัน โดยเป็น การขนถ่ายตู้คอนเทเนอร์รวม 1.301 ล้านตู้ TEU เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่วนตลาดค้าส่งผักผลไม้เจียงหนานเสียซาน เป็นตลาดค้าผักและผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตก ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นสาขาของตชาดเชียงหนานกวางโจวมีพื้นที่กว่า 150,000 ตร.ม. เปิดให้บริการในปี 2559สำหรับ ตลาดค้าส่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําเสียซาน เป็นตลาดค้าผลิตภัณฑ์สัตว์ น้ําที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกของมณฑลกวางตุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเป๋าหม่าน เขตเสียซาน มีพื้นที่ก่อสร้างรวม 408,473 ตร.ม. เป็นศูนย์กลางค้าขายผลิตภัณฑ์กุ้งลําดับต้น ๆ ของโลก (พื้นที่สําหรับ ตลาดซื้อขายกุ้งประมาณ 50,000 ตร.ม.) มีความจุของโกดังห้องเย็นรวม 100,000 ตัน (ห้องละ 5,000 ตัน จํานวน 20 ห้อง) มีโรงงานผลิตน้ําแข็ง 300 ตัน โรงเก็บน้ําแข็ง 1,500 ตัน และมีส่วนของโรงงานแปรรูปกุ้งด้วย เริ่มเปิดดําเนินการเมื่อปี 2555 สินค้าที่นํามาจําหน่ายในตลาดส่วนใหญ่เป็นกุ้งขาววานาไมสดแช่เย็น มีผู้ประกอบการกุ้ง ในตลาดประมาณ 70-80 ราย การซื้อขายจะคึกคักในช่วงเวลา 18.00-21.00 น.“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเมืองจ้านเจียงมีความประสงค์ที่จะผลักดันให้มีการนําเข้า ผลไม้ไทยผ่านท่าเรือจ้านเจียง เนื่องจากเห็นว่าเมืองจ้านเจียงมีการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ห่วงโซ่ความเย็นสามารถรองรับและกระจายสินค้าสดได้ดีขึ้นกว่าในอดีต กอรปกับระยะเวลาในการเดินเรือไม่นาน และสามารถกระจายผลไม้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของจีนได้โดยสะดวกโดยเฉพาะทางตะวันตกของมณฑลกวางตุ้ง” นายอลงกรณ์ กล่าว