วันที่ 6 มิถุนายน 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ยอมรับแล้วว่า มีการโอนหุ้นสื่อ ITV ของตนเองแล้ว และมีความพร้อมที่จะชี้แจงต่อ กกต.
สำหรับประเด็นถือหุ้นไอทีวีของ พิธา คงต้องรอ กกต.ว่าจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร จะยกคำร้อง หรือ จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
หุ้นไอทีวี เป็นประเด็น ที่กระทบต่อการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลของ พรรคก้าวไกล ยิ่งถ้า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ไอทีวี ยังอยู่ และ ยังผลิตสื่ออยู่ จะยิ่งเป็นอุปสรรคต่อพิธา ในการก้าวเดินต่อไป
-ข้อต้องห้ามการลงสมัคร ส.ส.ห้ามเป็นเจ้าของ หรือ ถือหุ้นสื่อ
-ข้อบังคับพรรคก้าวไกล ห้าม สมาชิกพรรคเป็นเจ้าของสื่อ และ ถือหุ้นสื่อ
-พิธาถือหุ้นไอทีวีมาตั้งแต่ปี 2549 หลังพ่อเสีย หุ้นก้อนนี้ ก็ตกทอดมาถึงทายาท
-ปี 2562 พิธา ลงสมัคร ส.ส.มาแล้วครั้งหนึ่ง และ ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ การถือหุ้นไอทีวีของพิธาจะกระทบถึงการเป็น ส.ส.ปี 2562 หรือไม่
-พิธาไม่มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล เป็นหัวหน้าพรรคได้หรือไม่
-พิธาเซ็นรับรองผู้สมัครทั้งเขต และบัญชีรายชื่อ จะถือเป็นโมฆะหรือไม่
-ผู้สมัครก้าวไกลที่มีคะแนนนำ จะได้เป็น ส.ส.หรือไม่
-คะแนนพรรค จะสามารถเอามาคำนวณจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อก้าวไกลได้หรือไม่
เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นคำถามทั้งสิ้น ยังไม่นับรวมเรื่องรัฐธรรมนูญอีกหลายมาตรา ตัวอย่างเช่น
1.การเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 นั้น ดำเนินการก่อนปิดรับสมัคร ส.ส. ซึ่งพิธาถือหุ้นไอทีวีอยู่
2. มาตรา 89 (2) ผู้ได้รับการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 160
3. มาตรา 160 (6) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98
4. มาตรา 98 (3) ห้ามผู้สมัคร ส.ส.เป็นเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใดๆ
ดังนั้น ถ้าตีความตามนี้ ก็น่าจะถือว่า ขาดคุณสมบัติ ตั้งแต่วันปิดรับสมัครตามมาตรา 88 ในวันที่ 4-7 เมษายน 2566 แล้วครับ (ตามความเห็นของ สว.สมชาย แสวงการ)
แต่หนทางที่ถูกต้องชอบธรรมที่สุด คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่สรุปส่งศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติครับ คำวินิจศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่สุด คำวิฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร
#นายหัวไทร