ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลกทุกปี โดยรัฐบาลได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน บริการ และ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยมีนักเดินทางมุสลิมเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และกล่าวได้ว่า นักท่องเที่ยวมุสลิม เป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกอีกด้วย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดที่กำลังเติบโตนี้ และกำลังวางแผนเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง ที่เป็นมิตรกับชาวมุสลิม และ แน่นอนว่า กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี และ ภูเก็ต จากการสำรวจ จังหวัดเหล่านี้เป็นเมืองสำคัญในการดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวมุสลิม ระดับไฮเอนด์จากตะวันออกกลางและที่อื่นๆ นั่นเอง
แหล่งข่าวกองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เปิดเผยว่า นักท่องเที่ยวมุสลิมเป็นตลาดที่เติบโตเร็วและมีกำลังซื้อสูง ในปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 11.8 ล้านคน ซึ่งกว่า 400,000 คนมาจากตะวันออกกลาง เพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 การใช้จ่ายรวมของกลุ่มนี้ก็เพิ่มขึ้น 71% จากปี 2562จากข้อมูลที่สำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวมุสลิม ต้องการสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อชาวมุสลิม เช่น ชอบโรงแรม ร้านอาหารที่มี ตรา “ฮาลาล” สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ เช่น ห้องละหมาด โดยประเทศไทย ต้องการสร้างองค์ความรู้และเสริมความเข้าใจ วัฒนธรรม พฤติกรรม ต่อนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน หากจะต้อนรับกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวนี้
ข้อมูล MasterCard-CrescentRating Global Muslim Travel Index 2022 จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 2 ในกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม รองจาก สิงคโปร์ และไต้หวัน ซึ่งมากกว่าอังกฤษ ฮ่องกง และญี่ปุ่น
ปัจจุบันนี้หลังจากรัฐบาลไทยและประเทศซาอุดิอาราเบียได้มีการเจริญความสัมพันธ์ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย ประเทศซาอุฯ เป็นเป้าหมายที่น่าสนใจมากเพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวนี้ อาจจะมากถึง ปีละ 3-4 แสนคน อีกทั้งการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ (Medical Hub) กลุ่มอาหรับให้ความสนใจและรู้จักโรงพยาบาลของประเทศไทยดีมาก ทั้งในเรื่องของมาตรฐานและการบริการ
ปี 2565 ไทยมีนักท่องเที่ยวจากซาอุดีอาระเบีย 96,389 คน ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างรายได้มากกว่า 8,000 ล้านบาท และทิศทางยังแรงต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-12 มี.ค.2566 มีนักท่องเที่ยวซาอุฯ เดินทางเข้าไทยเเล้ว 20,693 ราย สำหรับในปี 2566 ททท.คาดการณ์เป้านักท่องเที่ยวซาอุฯ อยู่ที่ราว 150,000 คน และจะสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวกว่า 12,000 ล้านบาท
เปรียบเทียบสถิตินักท่องเที่ยวเดินทางไปประเทศมาเลเซีย โดยก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2562 มาเลเซียรับนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) จำนวน 397,726 คน ซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดอันดับต้น ๆ คิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยว 121,444 คน และคาดหวังว่าในปี 2023 ประเทศไทยจะเป็นอันดับหนึ่ง ในกลุ่มประเทศไทยที่ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมมาเที่ยวมากที่สุดในโลก อย่างแน่นอน
บัญญัติ ทิพย์หมัด เรียบเรียง