ชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามประดุจมนต์เสน่ห์แห่งการแสวงหาความยุติธรรม ซึ่งทำให้บรรดานักวิชาการมุสลิมมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามคำขวัญหรือสโลแกนของการปฏิวัติอิสลามมากขึ้น ทำให้โลกตะวันตกหวาดวิตกต่ออิทธิพลของผู้นำอิหร่าน
ที่มีเหนือโลกอิสลามในอนาคต จากช่วงเวลานี้เอง “ห้องแห่งความคิด”ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนทางปัญญาสำหรับผู้กำหนดนโยบายตะวันตก ได้เสนอโครงการ สร้าง “ผู้นำ” สำหรับโลกอิสลาม และค่อยๆ ดำเนินการตามโครงการนี้โดยบรรดาผู้นำทางการเมืองตะวันตก
ซาอุดิอาระเบีย ในฐานะผู้ดูแลและผู้ปกครองของมัสยิดศักดิ์สิทธิ์สองแห่ง(ฮารอมัยน์)ซึ่งได้ต้อนรับผู้แสวงบุญชาวมุสลิมอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการมีอยู่ของมัสยิดอัลฮะรอมและมัสยิดของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ดังนั้นซาอุดิอาระเบีย จึงเป็นตัวเลือกแรกของโลกตะวันตกสำหรับการเป็นผู้นำของโลกอิสลาม
พวกเขาจึงหยิบยกแนวคิดอิสลามนิยมที่นำโดยซาอุดีอาระเบียและลัทธิวะฮาบี-ซาลาฟี พยายามสนับสนุนลัทธิวะฮาบีและซาอุดีอาระเบียด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ชีอะฮ์และโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านชีอะฮ์อย่างแพร่หลาย อีกทั้งชาวซาอุดีอาระเบียยังยินดีกับการตัดสินใจครั้งนี้ของตะวันตก ด้วยการทุ่มเทค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล พร้อมมาตรการโฆษณาชวนเชื่อที่กว้างขวาง เช่น การจัดการประชุมที่ใช้งบประมาณมหาศาลโดยมีนักวิชาการและปัญญาชนมุสลิมเข้าร่วม ซึ่งพวกเขาแนะนำตัวเองว่าเป็นผู้นำของโลกอิสลาม
⬅️ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 นายกรัฐมนตรีตุรกี เรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดกัน ได้ออกจากการประชุมที่เมืองดาวอส Daos Economic Summit ด้วยใบหน้าที่แดงก่ำ หลังจากที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ Shimon Peres หัวหน้าระบอบไซออนิสต์ โดยประกาศว่า “คุณกำลังฆ่าคน” เป็นที่ชัดเจนว่าตะวันตกได้เริ่มทำงานเพื่อแนะนำตุรกีในฐานะผู้นำของโลกอิสลาม หลังจากการประชุมครั้งนี้ ผู้คนต่างชื่นชมยินดี เออร์โดกัน อย่างมาก ได้รับการต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง โดยมีการถือธงตุรกีและปาเลสไตน์เมื่อเขามาถึงสนามบินอิสตันบูล
⬅️ ณ จุดนี้ เออร์โดกัน ได้รับการขนานนามว่า “ผู้พิชิตแห่ง Daos” สื่อตะวันตกรวมถึง CNN กล่าวถึงเออร์โดกันว่า เป็นผู้ต่อต้านอิสราเอลที่อาจเป็นผู้นำของโลกอิสลามคนใหม่ บุคคลสำคัญของชาวมุสลิมบางส่วนก็ได้รับผลกระทบจากกระแสนิยมนี้เช่นกัน เช่น คาลิด มัชอัล หัวหน้าสำนักงานการเมืองของฮามาส ระบุว่า ตุรกีภายใต้การนำของ เรเซฟ ตอยยิบ แอร์โดกัน ได้นำเสนอตัวอย่างของอิสลามสมัยใหม่และเป็นสายกลาง และกล่าวว่า “เออร์โดกันไม่ได้เป็นเพียงผู้นำของตุรกีเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำของโลกอิสลามอีกด้วย”
ฮามิด โมฮัมมัด คาน หัวหน้ามูลนิธิญะมาอัตอิสลามี ( Jamaat-e-Islami ) ในอินเดีย กล่าวด้วยว่า “ตุรกีเป็นผู้นำของโลกอิสลาม และเออร์โดกัน ผู้นำตุรกี ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำประชาชนของประเทศตุรกีเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำของประชาชาติอิสลามอีกด้วย” หลังจากนั้น ตุรกีก็เริ่มเกมส์ โดยการส่งเสริมอิสลามแบบฆราวาสในฐานะนักปฏิรูปในโลกอิสลาม โดยการเคลื่อนไหวแบบเสรีนิยมอีกทั้งยังคงดำเนินต่อไปในทิศทางของการทำให้อิสลามเป็นสถาบันตามที่ตะวันตกต้องการ แต่ทว่าตุรกีก็เหมือนกับซาอุดีอาระเบีย ได้เข้าสู่สงครามทางอ้อมกับซีเรียและอิรักโดยการสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายไอซิส( ISIS ) และค่อยๆ พัฒนาความสัมพันธ์ของประเทศกับระบอบไซออนิสต์เรื่อยมา การสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับอิสราเอลและการเพิ่มการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างทั้งสอง เผยให้เห็นเป้าหมายที่ซ่อนอยู่ของเออร์โดกัน และท้ายที่สุด ก็ต้องลบประเทศนี้ออกจากการอ้างความเป็นผู้นำของโลกอิสลาม
⬅️ อียิปต์ซึ่งมีประวัติศาสตร์อารยธรรมและอิทธิพลทางการเมืองในโลกอิสลาม ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกของผู้นำโลกอิสลามเช่นกัน นับตั้งแต่คลื่นปฏิวัติของชาวอียิปต์ที่ต่อต้านนายฮุสนี มุบาร็อก เริ่มขึ้น
ชาวตะวันตกแอบสนับสนุน มุฮัมมัด มุรซี อย่างลับๆในฐานะ “ภราดรภาพสายกลาง” และพยายามกำหนดประธานาธิบดีที่ต้องการให้กับชาวอียิปต์ ถ่ายโอนความเป็นผู้นำของโลกอิสลามไปยังประเทศนี้โดยผ่านการเลือกตั้ง แต่ในแง่หนึ่ง มุฮัมมัด มุรซี มีความโน้มเอียงไปยังลัทธิ วาฮาบี-ซาลาฟี มีความคลั่งไคล้ทางศาสนา ตลอดจนการประนีประนอมกับระบอบการปกครองอิสราเอล ทำให้อุดมคติของโลกอิสลามในการป้องกันและปกป้องปาเลสไตน์ของอียิปต์ ต้องเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรง
⬅️ มุฮัมมัด มุรซี ได้ประกาศตั้งแต่เริ่มแรกว่า เขายึดมั่นในข้อตกลงแคมป์เดวิดอย่างเต็มที่ และในระหว่างการบริหารของเขา การโจมตีด้วยจรวดโดยกลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่ยึดครองของอิสราเอลได้หยุดลง มุฮัมมัด มุรซี สามารถทำลายอุโมงค์ใต้ดินที่เป็นที่ลักลอบนำอาวุธเข้าสู่ฉนวนกาซาในคาบสมุทรซีนาย ภายในหนึ่งปี เพื่อทำลายและหยุดส่งอาวุธไปยังปาเลสไตน์
⬅️ หนังสือพิมพ์ Haaretz ของอิสราเอลเขียนในบันทึกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2013: “ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ มุฮัมมัด มุรซี ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งประเทศอิสราเอล และอิสราเอลคิดว่าการที่ มุฮัมมัด มุรซี เป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศตึงเครียดมากขึ้น แต่กลับกัน ในช่วงที่ มุฮัมมัด มุรซี ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้นกว่าเดิม ในช่วงเวลานี้ อิสราเอลสามารถรับสัมปทานจากอียิปต์ ซึ่งไม่สามารถทำเช่นนี้ได้แม้แต่ในยุคสมัยของ ฮอสนี มูบารัค” การกระทำดังกล่าวของ มุฮัมมัด มุรซี ไม่เพียงแต่ทำให้ภาพลักษณ์ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในประเทศอิสลามทุกประเทศเสื่อมเสียเท่านั้น แต่ยังกีดกันอียิปต์ออกจากการเป็นผู้นำของโลกอิสลามอีกด้วย
⬅️ แต่ในทางกลับกัน แม้ตะวันตกจะมีความพยายามโดดเดียวอิหร่านและแยกประเทศนี้ออกจากผู้นำชาวมุสลิม แต่ด้วยการบริหารอันชาญฉลาดของ อิมาม คาเมเนอี ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีของอิมามโคมัยนี ได้ยกระดับและส่งเสริมตำแหน่งผู้นำของอิหร่านในหมู่ชาวมุสลิมมากขึ้น มาตรการเชิงกลยุทธ์ของ อิมาม คาเมเนอี สามด้านด้วยกัน ได้แก่
ประการแรก: เพื่อต่อสู้กับระบบมหาอำนาจผู้อหังการที่ปกครองโลก และเพื่ออธิบายระเบียบที่ไม่พึงประสงค์ที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโลกอิสลาม
ประการที่สอง: เพื่อร่างและแนะนำระเบียบที่ต้องการสำหรับอนาคตของโลก ด้วยการออกแบบอารยธรรมอิสลามใหม่
ประการที่สาม : เพื่อชี้นำโลกอิสลามให้เคลื่อนจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ไปสู่สถานการณ์ที่ต้องการ ทำให้สถานภาพของการเป็นผู้นำของท่านในโลกอิสลามมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
⬅️ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการโหมกระหน่ำโจมตีและดูหมิ่นโดยเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของชาวตะวันตกในการต่อต้านผู้นำการปฏิวัติอิสลาม คือความล้มเหลวของการดำเนินโครงการ “สร้างผู้นำตัวปลอม” เพื่อโลกอิสลาม และชาวมุสลิมทั่วโลกโดยเฉพาะ ในเอเชียตะวันตกให้การยอมรับภายใต้การชี้นำของ อิมาม คาเมเนอี ซึ่งการกระทำล่าสุดของนิตยสาร”ชาร์ลี เอ็บโด” Charlie Hebdo ก็ควรได้รับการวิเคราะห์ในกรอบและบริบทนี้ด้วย
⬅️ วันนี้ ความสามารถของผู้นำแห่งการปฏิวัติอิสลามในการชี้นำขบวนการเคลื่อนไหวของอิสลาม การต่อต้านลัทธิฝ่ายเดียว และการต่อต้านมหาอำนาจผู้อหังการ ตลอดจนการเสริมสร้างแนวร่วมหรือพันธมิตรแห่งขบวนการต่อสู้(มุกอวะมะฮ์) การชี้นำกลุ่มขบวนการเพื่อเผชิญหน้ากับลัทธิไซออนิสต์และการรณรงค์ให้มีเอกภาพอิสลาม ได้แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสม ความสามารถ ศักยภาพ และคุณสมบัติที่โดดเด่นและดีเลิศของท่านในการเป็นผู้นำโลกอิสลาม คลื่นกระแสของการประณามการกระทำที่ไร้สาระของ นิตยสาร “ชาร์ลี เอ็บโด” ในหมู่ชาวมุสลิมทั่วโลกยังแสดงให้เห็นว่าประชาชาติอิสลามมีความเชื่อที่ว่า ควรปกป้องบุคคลที่กำลังดำเนินและสานต่อภารกิจของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ)
ภายหลังจากที่ปูตินเข้าพบผู้นำการปฏิวัติอิสลาม นายอาลี มูราด นักข่าวและนักวิชาการของโลกอาหรับ ได้เขียนข้อความในบัญชีทวิตเตอร์ของเขา เพื่อแนะนำผู้นำที่แท้จริงของโลกอิสลามว่า : “ปูตินได้มอบ นกล่าเหยื่อ เป็นของขวัญให้แก่ประมุขแห่งกาตาร์และกษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย แต่ปูตินคนเดียวกันนี้ได้มอบ อัลกุรอาน ฉบับเก่าแก่เมื่อ 13 ศตวรรษที่แล้ว ให้แก่อิมามคาเมเนอี
ซึ่งการเลือกมอบของขวัญเหล่านี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงอะไรหรือไม่? ก็จงตรึกตรอง ใคร่ครวญ กันเถิด !